ฟีโรโมน & ฮอร์โมนจากแมลง & ฮอร์โมนจากพืช
ฟีโรโมน
...............Pheromone หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ฟีโรโมน จัดเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสารสัญญาณดังนี้
1. สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex Attractant)
2. สารเตือนภัย (Alarm Pheromone)
3. สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Aggregation – Promoting Subtances) ยกเว้นสารสารที่มีกลิ่นเหม็นๆของแมลงที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันศัตรู เรียกว่าAllomones
..............................................................
ฮอร์โมนจากแมลง
...............ฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ
1. ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป
2. ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย
3. ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้
ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
...............ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย
สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ
1. ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้
- แพร่จากยอดลงสู่ต้น
- หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
- ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
- กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
- กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
- กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง
2. จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
- กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
- เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
- ช่วยยืดช่อของผล
3. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้
- เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
- กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
- เร่งการงอกของเมล็ด
- เร่งการไหลของน้ำยางพารา
4. กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
- ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
- กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
- ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด
5. ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้
- กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
- กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
- ชะลอการแก่ของผลไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น