ระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system)
คือ น้ำเหลือง หลอดหรือท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งม้าม ต่อมทอนซิล และไทมัส
หน้าที่ : กรองเลือด สร้างเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรค และคืนโปรตีนกลับสู่หลอดเลือด

ระบบน้ำเหลือง ได้แก่

                       



  • ท่อน้ำเหลืองใหญ่ thoracic duct
  • ต่อมทอนซิล tonsil
  • ต่อมไทมัส thymus
  • ต่อมน้ำเหลือง lymph nodes
  • ม้าม spleen
  • ท่อน้ำเหลือง lymph vessels  เป็นต้น 


ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ( Lymph ) ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) และอวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ )

ก. น้ำเหลือง ( Lymph ) ส่วนประกอบของน้ำเหลืองคล้ายกับในเลือดแต่ไม่มีเม็ดเลือดแดง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบ ๆ เซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีน โมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส

ข. ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่าง ๆ กัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง
น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ
- การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง
- ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ
- การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว

ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่มี 2 ท่อที่สำคัญคือ
- ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct ) เป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับ น้ำเหลืองจากส่วนต่างๆของร่างกาย ยกเว้นทรวงอกขวาแขนขวาและส่วนขวาของหัวกับ คอ เข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวาก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว
- ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว ( Right lymphatic duct ) รับน้ำเหลืองจากทรวง อกขวาแขนขวา และส่วนขวาของหัวกับคอเข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวา เข้าสู่หัวใจ จากนั้นน้ำเหลืองที่ อยู่ในท่อน้ำเหลือง จะเข้าหัวใจปนกับเลือดเพื่อลำเลียงสารต่างๆต่อไป

ค. อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymph organ ) อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางในการผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลก ปลอมประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม ต่อมไทมัส และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ที่ลำไส้

- ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อน้ำเหลืองทั่วไปในร่าง กายลักษณะเป็นรูปไข่ กลม หรือรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จะมีท่อน้ำเหลืองเข้าและท่อน้ำ เหลืองออกภายในเต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองให้สะอาดทำลาย แบคทีเรีย และทำลายเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในวัยชรา

- ต่อมทอนซิล ( Thonsil gland ) เป็นกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ 3 คู่คู่ที่สำคัญอยู่ รอบๆหลอดอาหาร ภายในต่อมทอนซิลจะมีลิมโฟไซต์ทำลายจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและ กล่องเสียงถ้าต่อมทอนซิลติดเชื้อจะมีอาการบวมขึ้น เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ

- ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุด มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมายไม่มีท่อน้ำ เหลืองเลย สามารถยืดหดได้ นุ่มมีสีม่วง อยู่ใกล้ๆกับกระเพาะอาหารใต้กระบังลมด้านซ้าย รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ภายในจะมีลิมโฟไซต์อยู่มากมาย ม้ามมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดในระยะเอ็มบริโอในคนที่คลอดแล้วม้ามทำหน้าที่
1. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว
2. สร้างเม็ดเลือดขาว พวกลิมโฟไซต์ และโมโนไซต์ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้า ไปในกระแสเลือด
3. สร้างแอนติบอดี
4. ในสภาพผิดปกติ สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด

- ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ตอนอายุน้อย และถ้าอายุมากจะเล็ก ลงและฝ่อในที่สุด เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ตรงทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ T มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายจากผู้อื่นด้วย


ขั้นตอนการป้องกันและต่อต้านเชื้อโรค

ขั้นที่ 1 ผิวหนังห่อหุ้มร่างกาย
จุลินทรีย์ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้
ร่างกายจะขับกรดแลกตริคออกมาพร้อมกับเหงื่อจะป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้
ร่างกายมีการสร้างน้ำ น้ำลาย ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย เป็นการช่วยให้เชื้อโรคหลุดออกจากร่างกายทางหนึ่งด้วย
การไอหรืออาเจียนก็มีผลให้เชื้อโรคหลุดออกจากร่างกาย

ขั้นที่ 2 เมื่อเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่บริเวณนั้น ทั้งที่อยู่ในเนื้อเยื่อและท่อน้ำเหลืองก็จะเคลื่อนที่แบบ อะมีบา เข้าทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีฟาโกไซโทซิส


เพิ่มเติม :http://www.phatthalung.police.go.th/kaochaison/dl/WEBBlO/pymphatic%20system.html( 9 มิถุนายน 2549)
http://www.healthymanual.com/sickness.asp?content_id=106( 10 กรกฏาคม 2549)http://www.thaihealth.net/h/article521.html ( 1 สิงหาคม 2549)http://classroom.psu.ac.th/users/cprapapo/Technic2/urine.htm( 29 สิงหาคม 2549)http://web1.dara.ac.th/karuna/Section/section1/section1_4_3.htm( 8 กรกฏาคม 2549)http://student.nu.ac.th/u46410239/lesson%205.htm( 3 สิงหาคม 2549)http://school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/transfersys.php(1 สิงหาคม 2549)http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=19762&page=1 (11 กรกฏาคม 2549)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น