การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

 การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
คลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของไส้เดือน
...........ไส้เดือน (earth worm) ไส้เดือนจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิตา (annelida) ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว (circular muscle)
อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือย (setae) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ
ที่ยื่นออกจากลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย ขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่ ไส้เดือนจะใช้เดือยจิกดินไว้ และกล้ามเนื้อวงกลมหดตัวส่วนกล้ามเนื้อตามยาว
คลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก เมื่อสุดแล้ว ส่วนหน้า คือ ปล้องแรกของไส้เดือนกับเดือยจะจิกดินแล้วกล้ามเนื้อวงกลมคลายตัว
...........กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ดึงส่วนท้ายของลำตังเคลื่อนมาข้างหน้า การเคลื่อนที่ของไส้เดือนเกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลม
และกล้ามเนื้อตามยาว หดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลัง ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า

การเคลื่อนที่ของหนอนตัวกลม
...........พวกหนอนตัวกลม (round worm) จัดอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (nematoda) เช่น เนมาโทด (nematode) พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ
พยาธิเส้นด้าย หนอนในน้ำส้มสายชู สัตว์กลุ่มนี้จะมีกล้ามเนื้อเรียงตามความยาวของลำตัว(longitudinal muscle) เท่านั้น การเคลื่อนที่ก็อาศัยการหดตัว
คลายตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดลักษณะส่ายไปส่ายมา แต่ก็เคลื่อนที่ไปได้

การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
...........พลานาเรีย (planaria) พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบน ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส(platyhelminthes) อาศัยอยู่ในน้ำ พลานาเรียมีกล้ามเนื้อ
3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อวง (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก กล้ามเนื้อตามยาว(longitudinal muscle) อยู่ทางด้านใน และกล้ามเนื้อทแยง
(oblique muscle) ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและว่าวล่างขิงลำตัว
...........พลานาเรียเคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำหรือคืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้กล้ามเนื้อ
ลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำ ในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำซิเลีย ที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยให้เลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น

.......................................                ....

การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน
...........แมงกะพรุน (jelly fish) แมงกะพรุนมีรูปร่างเหมือนร่ม เป็นสัตว์ที่มีลำตัวนิ่มมาก มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุน จัดอยู่ในไฟลัม
ซีเลนเทอราตา (coelenterate) เคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณขอบร่มและผนังลำตัวทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไป
ในทิศทางตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออกมา การหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย

การเคลื่อนที่ของหมึก
...........หมึก (squid) หมึกเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหอย จัดอยู่ในไฟลัม มอลลัสกา (mollusca) หมึกเคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลำตัว พ่นน้ำออกมา
ไซฟอน (siphon) ซึ่งอยู่ทางส่วนล่างของส่วนหัวทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าในทิศทางที่ตรงข้ามกับทิศทางของน้ำนอกจากนี้ส่วนของไซฟอน ยังสามารถ เคลื่อนไหวได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วยส่วนความเร็วนั้นขึ้นกับ ความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ลำตัว แล้วพ่นน้ำออกมา หมึกยังมีครีบอยู่ทางด้านข้างลำตัวช่วยในการทรงตัวให้หมึกเคลื่อนไปในทิศทางที่เหมาะสม

การเคลื่อนที่ของดาวทะเล
...........ดาวทะเล (sea star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (echinodermata) มีโครงแข็งที่ผิวนอกไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ ดาวทะเลมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ (water-vascular system) ซึ่งพบได้ในสัตว์กลุ่มนี้เท่านั้น ระบบท่อน้ำประกอบด้วยตะแกรงน้ำเข้าคือ มาดรีโพไรต์ (madrepolite) ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของดาวทะเล ต่อจากช่องตะแกรง เป็นท่อเล็กๆ เรียกว่า สโตนแคแนลเชื่อมต่อกับท่อวงแหวนที่อยู่รอบปาก เรียกว่า ริงแคแนล (ring canal) จากท่อวงแหวนนี้จะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขนทั้ง 5 ของดาวทะเล เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล (radial canal) ทางด้านข้างของเรเดียลแคแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต (tube feet) ทางด้านบนของทิวบ์ฟีต จะมีลักษณะพองเป็นกระเปาะเรียกว่า แอมพูลลา (ampulla)
น้ำเข้าสู่ระบบท่อน้ำทางมาดรีโพไรต์ และไหลผ่านท่อวงแหวนรอบปากเข้าสู่ท่อเรเดียลแคแนลและทิวบ์ฟีต เมื่อกล้ามเนื้อที่แอมพูลลาหดตัวทำให้ดันน้ำในทิวบ์ฟีต ยืดยาวออกไปดันกับพื้นที่อยู่ด้านล่างทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้ว ทิวบ์ฟีตจะหดสั้นเข้า น้ำกลับเข้าไปอยู่ในแอมพูลลาใหม่ การยืดและหดของทิวบ์ฟีต ของดาวทะเล จะเกิดขึ้นหลายๆทิวบ์ฟีตและหลายๆครั้ง และมีความสัมพันธ์กันทำให้เคลื่อนที่ไปได้

................................

การเคลื่อนที่ของแมลง
แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่แมลงมีโครงร่างภายนอก (exoskeleton)ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อ ซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัวเป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อข้ออื่นๆเป็นแบบบานพับ
การเคลื่อนไหวเกิดจากการทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ (flexor)และเอกเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่ในโพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งเป็นการทำงาน แบบแอนทาโกนิซึม (antagonism)

แมลงมีระบบกล้ามเนื้อ 2 แบบ คือ
1. ระบบกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับปีกโดยตรง โดยมีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาอยู่โคนปีกด้านในและส่วนท้อง เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวจะทำให้ปีกยกข้น และกล้ามเนื้ออีกชุดหนึ่งเกาะอยู่กับโคนปีกด้านนอกและส่วนท้อง เมื่อกล้ามเนื้อชุดนี้หดตัวจะทำให้ปีกลดตัวต่ำลง การทำงานของมัดกล้ามเนื้อนี้เป็นแบบแอนทาโกนิซึม ทำให้ปีกของแมลงยกขึ้น และกดลงจึงทำให้เกิดการบินขึ้น
2. ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง แต่ติดต่อกับผนังส่วนอก กล้ามเนื้อคู่หนึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามขวางโดยเกาะอยู่กับผนังด้านบนของส่วนอกกับผนังด้านล่างของส่วนอก เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกแคบเข้าและลดต่ำลง เกิดการยกปีกขึ้น ส่วนกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งจะเป็นกล้ามเนื้อตามยาวไปตามลำตัว เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกยกสูงขึ้น ทำให้กดปีกลงด้านหลัง การทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองคู่นี้จะทำงานประสานกันเป็นแบบแอนทาโกนิซึม จึงทำให้ขยับปีกขึ้นลงและบินไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น