ระบบขับถ่าย — Presentation Transcript
1. การก้าจัดของเสียของเสีย (waste) หมายถึง สารที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ของเสียที่เกิดขึ้น ได้แก่ น้้า คาร์บอนไดออกไซด์ และยูเรีย นอกจากนี้สารที่มี ประโยชน์แต่มีปริมาณมากเกินไปร่างกายก็จะก้าจัดออกเมแทบอลิซึม (Metabolism) หมายถึง กระบวนการหมุนเวียน เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตการก้าจัด ของเสียในคนเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น ทางไต ทางผิวหนัง ทางปอด และทางล้าไส้ใหญ่2. คอนแทรกไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ของโปรโตซัวคอนแทรกไทล์แวคิวโอล ท้าหน้าที่ก้าจัดของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์ โดยดูดของเหลวที่เป็นของเสียมาสะสมเอาไว้ และเมื่อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยไปจนถึงขีดหนึ่ง จะบีบตัวขับของเหลวในแวคิวโอลออกสู่ภายนอกเซลล์ ดังนั้น คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล จึงท้าหน้าที่ก้าจัดน้้าที่มีมากเกินต้องการออกนอกร่างกาย และบางส่วนของของเสียทีเ่ กิดจากเมแทบอลิซึมของโปรตีนก็อาจขับออกทางนี้ได้ด้วย
3. เฟลมเซลล์(Flame cell)หนอนตัวแบน (Platyhelminthis) ประกอบด้วยท่อปลายตันสานกันเป็นตาข่าย แตกแขนงอยู่ทั่วร่างกาย ปลายท่อตันหุ้มด้วยเซลล์ เรียกว่า flame bulb ซึ่งมี cilia คอยท้าหน้าที่โบกพัดของเหลวไปตามท่อรับของเหลว แล้วออกนอกร่างกายทางช่องเปิดที่ผนังล้าตัว(nephridiopore) ในรูปของปัสสาวะปัสสาวะของหนอนตัวแบนที่อาศัยในน้้าจืดจะเจือจางมาก
4. ภาพแสดง ระบบขับถ่ายของพลานาเรีย
5. เนฟริเดียม (Nephridium) ในพวกไส้เดือนดิน และพวก annelidsไส้เดือนดิน ล้าตัวเป็นปล้อง มีอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดียม(Nephridium) อยู่ทุกปล้อง ประกอบด้วยท่อปลายเปิด ท้าหน้าที่รับของเหลวในร่างกาย เรียกว่า เนโฟรสโตม (nephrostome) มี cilia คอยโบกพัดเอาของเหลวภายในช่องล้าตัวเข้าสู่ภายในท่อ ไปยังกระเพาะปัสสาวะ(bladder) แล้วออกจากร่างกายทางช่อง nephridioporeเนฟริเดียม ท้าหน้าที่ขับถ่ายของเสียพวกแอมโมเนียและยูเรียน้้าและแร่ธาตุที่มีประโยชน์จะถูกดูดกลับโดยผนังท่อเนฟริเดียมเข้าสู่ระบบเลือด
6. ระบบเนฟริเดียมของไส้เดือนดิน การขับของเหลวออกสู่ภายนอกร่างกายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของกล้ามเนื้อรอบผนังล้าตัวในขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่
7. มัลพิเกียน ทิวบูล (Malpighian tubules) แมลงและสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโปดา (Artropoda) ส่วนมากมีวิวัฒนาการระบบขับถ่ายขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับระบบเส้นเลือดที่เป็นวงจรเปิดโดยมีอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า "มัลพิเกียน ทิวบูล" (malpighian tubule) เป็นหลอดเล็กยาวยื่นออกมาจากบริเวณระหว่างล้าไส้ส่วนกลางและล้าไส้ส่วนท้าย หลอดเหล่านี้มีจ้านวนแตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิดแต่ละหลอดเปิดมีปลายซึ่งอยู่ในช่องว่างของล้าตัวท้าหน้าที่เป็นทางผ่านของเลือด
8. ปลายหลอด มัลพิเกียนนี สามารถดูดของเสียจากเลือดซึมผ่านเข้าไป ้ได้ ขณะที่ของเสียดูดผ่านเข้ามา เกลือแร่ต่างๆและน้้าบางส่วนอาจถูกดูดกลับออกมาสู่ชองว่างของล้าตัวได้อีก แต่กรดยูริกซึ่งเป็นของเสียจาก ่เมแทบอลิซึมของโปรตีน และละลายน้้าได้ยาก จะตกตะกอนผ่านลงสู่ล้าไส้ส่วนท้ายและไส้ตรง ที่บริเวณไส้ตรงนี้มีกลุมเซลล์ที่มี ่ประสิทธิภาพในการดูดน้้ากลับคืนสูร่างกายได้อย่างดียิ่ง กลุ่มเซลล์นี้ ่จะดูดน้้าที่เหลือเข้าสู่ร่างกายเกือบหมดสิ้น ท้าให้ทั้งปัสสาวะและอุจจาระของแมลงที่ขับออกมามีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
9. อวัยวะขับถ่ายของแมลง
10. การควบคุมระดับน้าและเกลือแร่ ( Osmoregulation ) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล มีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย หรือ osmolarity เท่ากับน้้าทะเล (isoosmotic) จึงไม่มีปัญหาในการสูญเสียน้้าหรือเกลือแร่ให้กับสิ่งแวดล้อม สัตว์ที่ไม่มี isoosmotic กับสิ่งแวดล้อม เช่นปลาทะเล และปลาน้้าจืด จึงต้องมี osmoregulation คือ การควบคุมระดับน้้า และเกลือแร่ ของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล(Homeostasis)
11. ปลาทะเล ของเหลวในร่างกายเป็น hypoosmotic ต่อน้้าทะเล ดังนั้นโอกาสที่จะเสียน้้าออก และเกลือแร่เข้าร่างกายได้ จึงมีวิธีการควบคุม ระดับน้้าและเกลือแร่ ดังนี้ คือ ดื่มน้้าทะเล ซึ่งมีทั้งน้้าและเกลือ ขับเกลือออกทางเหงือก โดยมีเซลล์พิเศษดึงเอา Cl- ออก และ Na+ ก็จะ 2+ 2+ ออกตาม ขณะที่ไตขับพวก Ca , Mg และ SO4 และขับน้้าออก เล็กน้อย เกลือแร่ที่เข้าไปในร่างกาย จะไม่มการดูดซึม ไตจะขับปัสสาวะที่มี ี ความเข้มข้นสูง
12. ปลาน้้าจืด ของเหลวในร่างกายเป็น hyperosmotic กับน้้าจืดดังนั้นโอกาสที่น้าจะเข้าไป และเกลือแร่เออกจากร่างกายได้ จึงมีวิธีการควบคุมระดับน้้าและเกลือแร่ ดังนี้ คือ ดื่มน้้าซึ่งมีทั้งน้้าและเกลือเข้าไป - +ใช้เซลล์ที่เหงือก โดยมีเซลล์พิเศษดึงเอา Cl เข้า และ Na ก็จะเข้าตามไปไตจะขับปัสสาวะที่เจือจาง
13. สัตว์บก นกหลายชนิดจะมีขนปกคลุม เพื่อ ี ป้องกันการสูญเสียน้้าเนื่องจากความร้อน และยังมีระบบการรักษาดุลยภาพของน้้า ด้วยการขับออกในรูปปัสสาวะนกทะเลที่กินพืชหรือสัตว์ทะเลเป็นอาหาร จะมีอวัยวะที่ท้าหน้าที่ก้าจัดแร่ธาตุหรือเกลือส่วนเกินออกไปจากร่างกาย เรียกว่า ต่อมเกลือ (salt gland)ซึ่งอยู่บริเวณหัวและจมูก โดยแร่ธาตุและเกลือจะถูกก้าจัดออกในรูปของน้้าเกลือวิธีการรักษาสมดุลเช่นนี้ จึงท้าให้นกทะเลต่าง ๆ สามารถด้ารงชีวิตอยู่ได้แม้จะบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุและเกลือสูงเป็นประจ้า
14. สรุป.......
15. สิ่งมีชวิต อวัยวะขับถ่าย กระบวนการขับถ่ายฟองน้้า/ไฮดรา ไม่มี การแพร่ออกจากเซลล์ ใช้ซิเลียในเฟลมเซลล์โบกพัด ท้าให้เกิดแรงดึงน้้าพร้อมของเสีย พลานาเรีย เฟลมเซลล์ ที่ละลายอยู่ในน้้าเข้าสู่เฟลมเซลล์ แล้วล้าเลียงเข้าสู่ท่อรับ ของเหลว เพื่อไปก้าจัดออกที่ช่องเปิดที่ผนังล้าตัว ใช้เนโฟรสโตมที่เป็นปลายเปิดของเนฟริเดียมรับของเสียที่ ละลายอยู่ในน้้าแล้วล้าเลียงออกสู่ช่องเปิดที่ผนังล้าตัว น้าและ ้ ไส้เดือนดิน เนฟริเดียม แร่ธาตุบางชนิดทีมประโยชน์จะถูกดูดกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียน ่ี เลือด ที่ปลายท่อของมัลพิเกียนทิวบูลจะรับของเสียจากของเหลว ภายในช่องของล้าตัว และล้าเลียงไปยังทางเดินอาหารซึ่งจะมี มัลพิเกียน แมลง การดูดน้้าและสารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่หลอดเลือดจะเหลือ ทิวบูล ของเสียที่เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีลักษณะเป็นผลึกคือ กรดยูริกจะถูกขับออกพร้อมกากอาหาร
16. ตอบค้าถามกันหน่อย - เพราะเหตุใด ฟองน้้าและไฮดราจึงด้ารงชีวิตอยู่ได้โดยไม่มี โครงสร้างพิเศษที่ใช้ในการขับถ่าย เพราะเซลล์ทุกเซลล์ของฟองน้้าและไฮดราสามารถสัมผัสกับน้้า ตอบ จึงมีการขับถ่ายของเสียพวกแอมโมเนียออกสู่น้าได้โดยตรง สูตรโมเลกุลของแอมโมเนีย ยูเรีย และกรดยูริกเหมือนหรือต่างกันอย่างไร สารทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วยธาตุ N และ H เหมือนกัน แต่ตอบ แอมโมเนียจะมีเฉพาะ N และ H มีสูตรโมเลกุล NH3 ส่วนยูเรียและ กรดยูริกจะมีธาตุ C และ O เป็นองค์ประกอบด้วย ยูเรียมีสูตร โมเลกุลเป็น NH2CONH2 กรดยูริกมีสูตรโมเลกุลเป็น C5O3N4H4
17. ทราบหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหารจึง มีปริมาณของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในน้้าปัสสาวะสูง กว่าสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อสัตว์กินสัตว์เป็นอาหาร โปรตีนในเนื้อสัตว์จะถูกย่อยจนได้ตอบ สารทีมีโมเลกุลขนาดเล็กคือกรดอะมิโน เมื่อสัตว์น้ากรดอะมิโน ่ เหล่านี้ไปใช้ในการสลายเพื่อให้ได้พลังงานจะได้ยูเรียซึ่งแตกต่าง ไปจากสัตว์ที่กนพืชเป็นอาหาร เพราะอาหารของสัตว์กินพืช ิ ส่วนใหญ่เป้นพวกคาร์โบไฮเดรตและมีโปรตีนน้อยกว่าอาหาร ของสัตว์กินสัตว์ ซึ่งสลายแล้วได้ยูเรียเพียงเล็กน้อย
18. การที่สตว์จ้าพวกแมลงและสัตว์เลื้อยคลานขับถ่ายของเสีย ออกมาในรูปกรดยูริก มีความ สัมพันธ์กับการด้ารงชีวิตอย่างไรตอบ การขับถ่ายของเสียในรูปกรดยูริกเป็นการช่วยสงวนน้้าไว้ในร่างกาย เพราะสัตว์เหล่านี้ได้รับน้้าส่วนใหญ่จากอาหารเท่านั้น ไม่ค่อยได้ ดื่มน้้าและมีโอกาสสูญเสียน้้าได้ง่าย
19. อะไรเป็นสาเหตุส้าคัญที่ท้าให้สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่ อาศัยอยู่ในน้้าและบนบก มีการขับถ่ายของเสียในรูปที่แตกต่างกัน สภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ เช่น ในน้้า หรือบนบก มีผลต่อ การได้รับน้้าและการสูญเสียน้้าของร่างกาย ท้าให้สัตว์ต้องขับถ่ายของตอบ เสียในรูปที่ต่างกัน เช่น ปลาจะขับถ่ายของเสียในรูปของแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารพิษส้าหรับร่างกายแต่ละลายน้้าได้ดี ส่วนนก แมลง และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดจ้าเป็นต้องสงวนน้าไว้ใช้ในร่างกายจึงต้อง ้ มีการดูดน้้าจากสารละลายที่มีของเสียกลับไปใช้ในร่างกาย ของเสียที่ เป็นสารประกอบไนโตรเจนจึงอยู่ในรูปผลึกของกรดยูริก
ระบบขับถ่ายของคน
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่2ประเภท1. สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย2. สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้
การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
สาเหตุของอาการท้องผูก1. กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย2. กินอาหารรสจัด3. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน4. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป5. สูบบุหรี่จัดเกินไป6. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิดอุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
การขับถ่ายของเสียทางปอด
เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก
การขับถ่ายของเสียทางไต
จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสียอื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
- ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
- การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น
การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
3. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5. ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง
ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่
อาการเจ็บป่วย
โรคลำไส้อักเสบ
ต้นเหตุของโรคลำไส้อักเสบ
ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกิน ก็มีส่วน คือ พบว่าการกินอาหารไขมันสูง กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber)ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปี หรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบ แต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล
อาการ
อาการมากหรือน้อยขึ้นกับบริเวณและระยะของโรค บางรายอาจมีอาหารเพียงแน่นท้อง ท้องอืด หรือปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเดิน นอกจากอาการปวดท้อง ผู้ป่วยมักมีไข้ร่วมด้วย การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยอาการแสดงของโรค การตรวจอุจจาระ
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายและการตรวจเพื่อแยกแยะว่าไม่ได้เป็นความผิดปกติของลำไส้อื่นๆ ในระยะแรกอาจวินิจฉัยแยกจากโรคแผลลำไส้อักเสบได้ยาก ต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปพิสูจน์
โรคริดสีดวงทวาร
เป็นโรคที่พบว่ามีคนไข้เป็นจำนวนมาก พบได้ในเพศหญิงและเพศชาย โดยปกติอาการในระยะแรกจะไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ กล่าวคือ เป็นโรคที่สามารถหายได้เองในระยะแรก แต่บางคนอาจมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว คนที่มีการดำเนินของโรคมากขึ้นจะมีจำนวนไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปี ก่อนจะถึงระดับที่รุนแรงจนกระทั่งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
1. ท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
2. ท้องเสียเรื้อรัง
3. ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุนี้โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว
4. พันธุกรรม 5. ความชรา
การรักษาโรคริดสีดวงทวาร
มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนั้นควรพิจารณาจากชนิดและความรุนแรงของโรคเป็นหลักในการรักษา
1. การใช้ยาระงับอาการ ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น เช่น อาการปวด การอักเสบและไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาทา ยารับประทาน ยาเหน็บ ยาฉีด
2. การใช้ยางรัด (rubber band ligation)
3. การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด (infrared photocoagulation)
4. การจี้ริดสีดวงทวารด้วย bipolar coagulation
5. การผ่าตัดริดสีดวงทวาร
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
1. ระวังอย่าให้ท้องผูก ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และยาเพิ่มเส้นใย (เช่น psyllium,เมธิลเซลลูโลส)และต้องถ่ายอุจจาระอย่างน้อยวันละ 1ครั้งเป็นประจำเพราะท้องผูกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์โดยการออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน จะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
3. ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8แก้ว เพื่อทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มขึ้น ทำให้ง่ายต่อการขับถ่ายและเป็นการลดการเสียดสีกับเส้นเลือดที่บริเวณทวารหนัก
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการที่พึงระวัง
1.มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ ทั้งจำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระที่ออกมา
2.มีเลือดเก่าๆ และมูกออกทางทวารหนัก
3.ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
4.น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้
5.คลำก้อนได้ที่บริเวณท้อง และมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่
การวินิจฉัย
1·ตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าทางทวารหนัก แล้วถ่ายเอกซเรย์
2·การตรวจด้วยกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ สามารถดูรอยโรคได้โดยตรง และสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ได้ด้วย
3·การติดตามผลการรักษา ทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหา CEA
การรักษา
1.การผ่าตัด
2.รังสีรักษา
3.เคมีบำบัด
4.การรักษาแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาวะผู้ป่วย
การป้องกัน
1.ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และควบคุมระบบการขับถ่ายให้เป็นเวลา
2.รับประทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนไหม้เกรียม จากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน
4.ลดอาหารไขมันสูง
5.ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปหรือที่มีโรคเกี่ยวกับทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ แผลอักเสบเรื้อรัง เนื้องอก ควรได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง
6.ผู้ที่มีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง 7.ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์
1.มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกสลับกับท้องเดิน มีเลือดเก่าๆและมูกปน
2.ท้องอืด แน่นเฟ้อ เรื้อรัง
3.น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด โลหิตจาง โดยหาสาเหตุไม่ได้
โรคมะเร็งปอด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ส่วนใหญ่พบร่วมกับการสูบบุหรี่
1.สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด 2
.สูบ cigars และ pipes
3.ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
4.สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
5.ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
6.ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
7.โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค
8.ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ
อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้
๐ ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
๐ เจ็บแน่นหน้าอก
๐ ไอเสมหะมีเลือดปน
๐ หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
๐ เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
๐ หน้าและคอบวม
๐ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การรักษา
1.การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
2.เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
3.รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
4.Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก
การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายเพราะช่วยให้อาหารแตกตัวและย่อยได้ง่ายขึ้นและขับถ่ายได้สะดวก
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
3. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5. ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น