ระบบหมุนเวียนเลือด

ระบบหมุนเวียนเลือดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหล้ง

ระบบหมุนเวียนเลือดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจะมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน  เช่น
1. ฟองน้ำ  ไฮดรา  และพลานาเรีย  ไม่มีโครงสร้างที่เป็นระบบหมุนเวียนเลือด  ดังนั้นสัตว์เหล่านี้จึงมีผิวเซลล์สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง  และสารที่ลำเลียงผ่านเข้าสู่เซล์จึงเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  ควมถึงสารที่ออกจากเซลล์ที่เป็นของเสียก็จะมีความสมดุลกัน
    

ฟองน้ำ http://www.school.net.th
ไฮดรา http://www.lks.ac.th
พลานาเรียน http://aqua.c1ub.net

2. สัตว์จำพวกแมลง  จะมีหลอดเลือดใหญ่อยู่ด้านหลังของลำตัว  บางส่วนของหลอดเลือดจะโป่งพองเพื่อทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือด เรียกว่า ออสเทีย ( ostia ) เลือดจะมีลักษณะเป็นของเหลว  ซึ่งมีทั้งเลือดและน้ำเหลืองปะปนกัน เรียกว่า ฮีโมลิมพ์ ( hemolymb ) บางช่วงเลือดจะออกจากหลอดเลือดแทรกซึมตามข่องว่างของร่างกาย เรียกว่า ฮีโมซีล ( hemocoel ) เลือดจะสัมผัสกับเนื้อเยื่อและแลกเปลี่ยนสารโดยตรงขณะเดียวกันเลือดยังไหลกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ด้วย จึงเรียกว่า ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( opened circulatory system )
3. ไส้เดือน  จะมี ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( closed circulatory system )  ซึ่งมีหัวใจเทียมสูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือด  โดยมีหลอดเลือดฝอยเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดตำและหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดไม่ออกมานอกหลอดเลือดเหมือนกับแมลง



ระบบหมุนเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ระบบหมุนเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลังและคนอาศัยอวัยวะที่เกี่ยวข้องและการทำงานจะสัมพันธิ์กัน คือหัวใจ หลอดเลือด และเลือดที่ไหลไปตามหลอดเลือด และเป็นแบบปิด คือเลือดจะหมุนเวียนอยู่ในหลอดเลือดและหัวใจตลอดเวลา ไม่มีรูหรือช่องเปิดให้เลือดออกนอกหลอดเลือดได้ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างหลอดเลือดำ ( vein ) และหลอดเลือดแดง ( artery ) จะมีหลอดเลือดฝอย ( capillary ) เป็นจุดเชื่อมต่อบริเวณอวัยวะนั้นๆ

หัวใจ (อังกฤษHeart) ในกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะสำหรับการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในหัวใจซึ่งสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
หัวใจวางตัวอยู่ในบรินกลางของช่องอก ในบริเวณที่เรียกว่า เมดิแอสไตนัมส่วนกลาง (middle mediastinum) ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกขนาบข้างด้วยปอด และมีหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดอาหารวางอยู่ใต้หัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังถูกห่อหุ้มโดยเยื่อบางๆ เรียกว่า เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังมีระบบหลอดเลือดเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า ระบบหลอดเลือดหัวใจ(coronary system) ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง
ในศัพท์ทางการแพทย์ หัวใจและโครงสร้างที่เกี่ยวกับหัวใจจะใช้คำ Cardio- มาจากkardia ซึ่งหมายถึงหัวใจในภาษากรีก


ไฟล์:Heart-and-lungs.jpg
หัวใจของมนุษย์ในทรวงอก ขนาบข้างด้วยปอดทั้งสองข้าง

โครงสร้างและพื้นผิวของหัวใจ

สำหรับในร่างกายมนุษย์ หัวใจจะวางตัวอยู่ในช่องอกและเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ หัวใจจะมีน้ำหนักประมาณ 250-350 กรัม และมีขนาดประมาณสามในสี่ของกำปั้น แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจโต(cardiac hypertrophy) น้ำหนักของหัวใจอาจมากถึง 1000 กรัม หัวใจคนเรานั้นมี4ห้องคือ2ห้องบนและ2ห้องล่าง
บนพื้นผิวของหัวใจจะมีร่องหัวใจ (cardiac grooves) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางตัวของหลอดเลือดหัวใจ ร่องหัวใจที่สำคัญได้แก่
  • ร่องโคโรนารี (Coronary grooves) หรือร่องเอตริโอเวนตริคิวลาร์(atrioventricular groove) เป็นร่องที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบน (atria) และหัวใจห้องล่าง (ventricle) ร่องนี้จะเป็นที่วางตัวของแอ่งเลือดโคโรนารี (coronary sinus) ทางพื้นผิวด้านหลังของหัวใจ
  • ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหน้า (Anterior interventricular groove) เป็นร่องที่แบ่งระหว่างหัวใจห้องซ้ายและหัวใจห้องขวาทางด้านหน้า และจะมีแขนงใหญ่ของหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้านซ้าย (left coronary artery) วางอยู่
  • ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหลัง (Posterior interventricular groove) เป็นร่องที่แบ่งหัวใจระหว่างห้องซ้ายและห้องขวาทางด้านหลัง ส่วนใหญ่จะพบว่ามีแขนงของหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้านขวา (right coronary artery) วางอยู่

ผนังหัวใจ

ผนังของหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ได้แก่

  • เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน
  •  (Epicardium) เป็นชั้นที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มหัวใจด้านที่ติดกับหัวใจ (Visceral layer of pericardium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรง
  • กล้ามเนื้อหัวใจ
  •  (Myocardium) เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุด และประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด


มุมมองทางด้านหน้าของหัวใจ แสดงทิศทางการไหลของเลือดภายในหัวใจ

ห้องหัวใจ


หัวใจจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ห้อง (heart chambers) และทิศทางการไหลของเลือดเข้าสู่แต่ละห้องจะถูกควบคุมโดยลิ้นหัวใจ (cardiac valves) ทำให้เลือดไม่ไหลย้อนเมื่อมีการบีบตัวและคลายตัว ในที่นี้จะกล่าวถึงห้องของหัวใจตามลำดับของการไหลของเลือดภายในหัวใจ

[แก้]หัวใจห้องบนขวา


หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) มีหน้าที่รับเลือดที่มาจากหลอดเลือดดำใหญ่ซุพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดมาจากร่างกายส่วนบน และหลอดเลือดดำใหญ่อินฟีเรียร์เวนาคาวา (Inferior vena cava) รับเลือดมาจากร่างกายช่วงล่าง ผนังของหัวใจห้องนี้ค่อนข้างบาง โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับหัวใจห้องบนซ้าย จะมีรอยบุ๋มที่เรียกว่า ฟอซซา โอวาเล (Fossa ovale) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนทั้งสองห้องระหว่างที่อยู่ในครรภ์ โดยปกติจะไม่มีช่องเปิดใดๆ แต่ในกรณีที่รอยบุ๋มดังกล่าวนี้ยังคงเหลือช่องเปิดอยู่ อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจผิดปกติได้ เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา ผ่านทางลิ้นหัวใจไทรคัสปิด(Tricuspid valve)

[แก้]หัวใจห้องล่างขวา


หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) จะอยู่ทางด้านหน้าสุดของหัวใจ และพื้นผิวทางด้านหลังของหัวใจห้องนี้จะติดกับกะบังลม หัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา แล้วส่งออกไปยังปอด ผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี (pulmonary valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี(pulmonary arteries) ที่ผนังของหัวใจห้องที่จะมีแนวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สานต่อกัน และมีเอ็นเล็กๆที่ควบคุมลิ้นหัวใจไทรคัสปิด ซึ่งเรียกว่า คอร์ดี เท็นดินี (chordae tendinae) ซึ่งทำหน้าที่ยึดลิ้นหัวใจไทรคัสปิดไม่ให้ตลบขึ้นไปทางหัวใจห้องบนขวาระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

โครงสร้างภายในของหัวใจห้องขวา


[แก้]หัวใจห้องบนซ้าย

หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium) มีขนาดเล็กที่สุดในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง และวางตัวอยู่ทางด้านหลังสุด โดยหัวใจห้องนี้จะรับเลือดที่ได้รับออกซิเจนจากปอดผ่านทางหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary veins) และจึงส่งผ่านให้หัวใจห้องล่างซ้ายทางลิ้นไมทรัล (Mitral valve)

[แก้]หัวใจห้องล่างซ้าย

        หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) จัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุด ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทางลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)
หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) จัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุด ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทางลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)

ลิ้นหัวใจ


ลิ้นหัวใจเป็นแผ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรงที่ยื่นออกมาจากผนังของหัวใจ เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของเลือดภายในหัวใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียว โดยอาศัยความแตกต่างของความดันโลหิตในแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจที่สำคัญได้แก่

  • ลิ้นหัวใจไทรคัสปิด (Tricuspid valve) มีสามกลีบ (cusps) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
  • ลิ้นไมทรัล (Mitral valve) มีสองกลีบ บางครั้งจึงเรียกว่า ลิ้นหัวใจไบคัสปิด (bicuspid valve) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย
  • ลิ้นหัวใจพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar valve) มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดแดงพัลโมนารี
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic semilunar valve) มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ใกล้ๆกับโคนของลิ้นหัวใจนี้จะมีรูเปิดเล็กๆ ซึ่งเป็นทางเข้าของเลือดที่จะเข้าสู่ระบบหลอดเลือดหัวใจ


ภาพตัดตรงของหัวใจ แสดงผนังของหัวใจและตำแหน่งของลิ้นหัวใจ


หลอดเลือดมีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย มีหน้าที่นำสารอาหาร และก๊าซออกซิเจนที่ลำเลียงไปกับเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อไปถึงเซลล์จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารและก๊าซต่างๆ ถ้านำหลอดเลือดในร่างกายมาต่อกันจะมีความยาวประมาณ 100,000 ไมล์

หลอดเลือดในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดแดง ( Artery )
2.หลอดเลือดดำ ( Vein )
3.หลอดเลือดฝอย ( Capillary )

หลอดเลือดแดง ( Artery )

หลอดเลือดมีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย มีหน้าที่นำสารอาหาร และก๊าซออกซิเจนที่ลำเลียงไปกับเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อไปถึงเซลล์จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารและก๊าซต่างๆ ถ้านำหลอดเลือดในร่างกายมาต่อกันจะมีความยาวประมาณ 100,000 ไมล์

หลอดเลือดในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดแดง ( Artery )
2.หลอดเลือดดำ ( Vein )
3.หลอดเลือดฝอย ( Capillary )

หลอดเลือดแดง ( Artery )

หมายถึง

หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งจะเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด ) 

ลักษณะของหลอดเลือดแดง

- มีผนังหนา โดยจะมีลักษณะเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่หนาและยืดหยุ่น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือเนื้อเยื่อด้านในสุดเป็นเนื้อเยื่อบุผิว ชั้นกลางเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่นได้ เนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้เช่นเดียวกัน
- ผนังมีความยืดหยุ่นดีมาก เพราะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้สามารถขยายตัวเพื่อรับแรงดันเลือดค่อนข้างสูงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
เส้นเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจออกไปจะมีขนาดเล็กลง กล้ามเนื้อน้อยลง ผนังมีความยืดหยุ่นน้อยลง ความดันเลือดน้อยลง
เส้นเลือดแดงจะมีขนาดต่างๆกัน ขนาดใหญ่ที่สุด คือ หลอดเลือดแดงใหญ่ ผนังของหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ต้องมีความแข็งแรง และสามารถขยายตัวรับแรงดันของเลือดที่เคลื่อนผ่านตามจังหวะการเต้นของหัวใจ และหดตัวให้มีขนาดเท่าเดิมเมื่อแรงดันผ่านไป ดังนั้นเมือหลอดเลือดแดงซึ่งมีขนาดใหญ่ฉีกขาดเลือดจะพุ่งออกมาเป็นจังหวะตามการเต้นของหัวใจ 

หลอดเลือดแดงมี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ

- เอออร์ตา ( aorta ) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแดงที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายโค้งไปทางด้านหลัง ทอดผ่านช่องอกและช่องท้อง ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
- อาร์เทอรี ( artery )หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยวส่วนต่างๆของร่างกาย หลอดเลือดมีผนังกล้ามเนื้อหนาเพื่อให้ทนต่อแรงดันเลือด
- อาร์เทอริโอล ( arteriole )หลอดเลือดแดงเล็ก ซึ่งสามารถจะขยายตัวหรือหดตัวได้ เพื่อบังคับการไหลของเลือด

หลอดเลือดดำ ( Vein )

หมายถึง

หลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ( เลือดดำ ) ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา ( Right atrium ) เพื่อนำกลับไปฟอกที่ปอด (ยกเว้นหลอดเลือดดำปอดที่ชื่อ pulmonary vein ซึ่งจะนำเลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วนำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย) ภายในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำ ถ้าหลอดเลือดดำฉีกขาด เลือดที่ไหลออกมาจะไหลรินๆคงที่ และสม่ำเสมอ ห้ามเลือดหยุดได้ง่ายกว่าหลอดเลือดแดงฉีกขาด 

ลักษณะของเส้นเลือดดำ

- มีผนังบาง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงแต่บางกว่า
- ผนังมีความยืดหยุ่นได้น้อย เพราะมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อย
- มีลิ้นกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

หลอดเลือดดำมี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ

1.เวนาคาวา ( vena cava ) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่หัวใจ มีอยู่ 2 เส้น คือ
-สุพีเรีย เวนาคาวา (Superior Vena Cava) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดกลับจากหัว อก คอ และแขนเข้าสู่หัวใจ
- อินฟีเรีย เวนาคาวา(Inferior Vena Cava) เป็นเส้นเลือดดำที่นำเลือดจากส่วนต่างๆที่อยู่ต่ำกว่ากะบังลมไปยังหัวใจ
2.เวน ( vein )เป็นเส้นเลือดดำที่นำเลือดมาจากอวัยวะต่างๆของร่างกาย
3.เวนูล ( venule )เป็นเส้นเลือดดำที่มีขนาดเล็ก ติดกับเส้นเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย ( Capillary )

หมายถึง

หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ( arteriole ) ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก        ( venule ) โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย

ลักษณะของเส้นเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกายมีทั้งเส้นเลือดแดงฝอย และเส้นเลือดดำฝอยมีเนื้อเยื่อบางมาก มีจำนวนมากเพราะเป็นส่วนที่ต้องแยกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย มีผนังบาง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 ไมโครเมตร ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว มีหน้าที่เป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ และสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกาย์ โดยวิธีการแพร่ เส้นเลือดฝอยในร่างกายมีมาก เพราะเป็นส่วนที่ต้องแยกไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย 

ระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์


ระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
น้ำเลือด (plasma) 
น้ำเลือดประกอบด้วย
1. น้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่รักษาระดับปริมาณของเลือดความดันโลหิตให้คงที่ ละลายแร่ธาตุต่างๆ เป็นตัวกลางในการ ลำเลียงสาร ทำให้เซลล์มีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
2. แร่ธาตุ ทำหน้าที่รักษาระดับของการแพร่ ระดับของ pH รักษาระดับสมดุลระหว่างน้ำเหลือง กับน้ำเลือดในเซลล์
3. พลาสมาโปรตีน (plasma protein) ทำหน้าที่ รักษาระดับของแรงดันออสโมติกและระดับ pH และยังมีพวกที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น
- ไฟบริโนเจน (fibrinogen) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- โพรทอมบิน (prothrombin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- อลบูมีน (albumin) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- โกลบููลีน (globulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับ pH ปริมาณน้ำ ลำเลียงแร่ธาตุต่างๆ เป็นแอนติบอดี (antibody)

หัวใจ (heart) 
หัวใจเป็นอวัยวะในระบบหมุนเวียนโลหิตที่มีการเปลี่ยนแปลง มาจากเส้นเลือดในขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงเป็นตัวอ่อน มีหน้าที่ในการบีบส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้างค่อนไปทางปอดด้านซ้าย มีรูปคล้ายดอกบัวตูม ขนาดเท่ากับกำมือของเจ้าของ หรือกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร หัวใจจะอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) มีน้ำเลี้ยง (pericardial fluid) หล่อเลี้ยงอยู่
ผนังของหัวใจมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก (epicardium) ชั้นกลาง (myocardium) และชั้นใน (endocardium) เนื้อเยื่อชั้นกลางจะหนามาก มีกล้ามเนื้อที่เป็นกล้ามเนื้อพิเศษเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
1. หัวใจของสิ่งมีชีวิต
- หัวใจที่มีลักษณะเป็นหลอดเลือดธรรมดา บีบตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา เป็นหัวใจของพวกไส้เดือนดิน พวกปลิง เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า pulsating vessel
- tubular heart หัวใจนี้คล้ายกับ pulsating vessel เป็นหัวใจของพวกกุ้ง ปู หรือพวก arthropod อื่นๆ
- หัวใจที่มีรูปร่างเป็นกระเปาะหรือเรียกว่า ampullar heart เป็นหัวใจของพวกแมลง หมึก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน
หัวใจที่มีการแบ่งเป็นห้อง คือ ห้องรับเลือดและห้องส่งเลือด เรียกว่า chambered heart มีความสลับซับซ้อนมาก ระหว่างห้องของหัวใจจะมีลิ้นหัวใจปิดเปิดให้เลือดเคลื่อนที่ผ่านไปตามทิศทาง หัวใจแบบนี้แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ หัวใจชนิดสองห้อง เป็นหัวใจของพวกปลา หัวใจชนิดสามห้อง เป็นหัวใจของพวกสิ่งมีชีวิตที่มีปอด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก (ยกเว้นพวกจระเข้ที่หัวใจเป็นพวก 4 ห้อง แต่ 4 ห้องไม่สมบูรณ์) หัวใจชนิดสี่ห้อง เป็นหัวใจของพวกนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จระเข้
2. การเต้นของหัวใจ (heart beat) การเต้นของหัวใจเป็นการทำงานเพื่อสูบฉีดให้เลือดดีไหลไปทั่วทุกเซลล์ ทุกเนื้อเยื่อ ทุกอวัยวะของร่างกาย สูบฉีดผลักดันเลือดเสียให้ไปยังอวัยวะที่ทำการแลกเปลี่ยนของเสียและของดีของเลือด
การเต้นของหัวใจจะเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอตลอด เวลา เนื่องมาจากกล้ามเนื้อหัวใจหดตัว เรียกการทำงานนี้ว่า การเต้นของหัวใจ (heart beat or contraction of heart) หัวใจจะเริ่มเต้นตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดาไปจนกระทั่งสิ้นชีวิต
การเต้นของหัวใจประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการบีบตัว เรียกว่า systole และขั้นตอนการคลายตัวหรือพองตัว เรียกว่า diastole
3. อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) อัตราการ เต้นของหัวใจมีผลมาจากสิ่งต่างๆ เช่น
- การเปลี่ยนแปลงเมแทบอลิซึมในร่างกาย
- เพศ เพศหญิงหัวใจเต้นเร็วกว่าเพศชาย
- อิริยาบถของร่างกาย เช่น นั่ง ยืน วิ่ง เป็นต้น
- การเจ็บป่วยจากโรคและการบาดเจ็บ
- ขนาดของร่างกาย ร่างกายมีขนาดเล็กอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็ว ร่างกายมีขนาดใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจจะช้า
มนุษย์ในวัยต่างๆ รวมทั้งสัตว์ต่างชนิดกันจะมีอัตราการเต้นของหัวใจไม่เท่ากันเช่น
- ทารกในครรภ์ 140 ครั้ง/นาที
- เด็กโต 100 ครั้ง/นาที
- วัยรุ่น 80 ครั้ง/นาที
- ผู้ใหญ่ 75 ครั้ง/นาที
- วัยชรา 75-80 ครั้ง/นาที
- หนู 700 ครั้ง/นาที
- กระต่าย 150 ครั้ง/นาที
- สุนัข 100-120 ครั้ง/นาที
- เต่า 56-60 ครั้ง/นาที
- ช้าง 25-28 ครั้ง/นาที 

เส้นเลือด (blood vessel) 
ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตระบบหมุนเวียนโลหิตมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเส้นเลือดแดง (arterial system) และระบบเส้นเลือดดำ (venous system)
1. เส้นเลือดแดง (artery) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดีออกจากหัวใจ เพื่อนำไปยังเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
2. เส้นเลือดดำ (vein) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเสียเข้าสู่หัวใจ โดยเป็นเลือดที่มาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย



1. โครงสร้างของเส้นเลือด โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง (vein and artery) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ
1.1 เนื้อเยื่อชั้นนอก (tunica externa) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ (connective tissue) ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ภายในเนื้อเยื่อมีท่อน้ำเหลืองและเส้นประสาท ทำให้เส้นเลือดเล็กลงและใหญ่ขึ้นได้ตามความต้องการของร่างกาย
1.2 เนื้อเยื่อชั้นกลาง (tunica media) เป็นเนื้อเยื่อชั้นที่มีความหนามากที่สุด เป็น muscle layer ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภท elastic tissue และมี collagen fiber ทำให้มีความเหนียวและแข็งแรง ในเส้นเลือดแดงจะมีเนื้อเยื่อชั้นกลางหนากว่าเส้นเลือดดำ
1.3 เนื้อเยื่อชั้นใน (tunica interna) เนื้อเยื่อชั้นในสุดประกอบด้วยเนื้อเยื่อ endothelium และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพวก elastic tissue ช่วยเพิ่มความแข็งแรง
โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่มีขนาดเท่ากันจะมีความแตกต่างกันคือ
- เส้นเลือดดำมีผนังบางกว่าเส้นเลือดแดง
- เส้นเลือดดำมีช่องว่างภายในมากกว่าเส้นเลือดแดง
- สีของเส้นเลือดดำจะมีสีคล้ำกว่าเส้นเลือดแดง

เส้นเลือดดำจะเริ่มต้นที่เส้นเลือดฝอยแล้วก็ใหญ่จนถึงหัวใจจะมีขนาดใหญ่สุด
เส้นเลือดแดงจะเริ่มต้นที่เส้นเลือดขนาดใหญ่ที่สุดแล้วค่อยๆ ลดขนาดลงจนเป็นเส้นเลือดฝอย


2. การไหลของเลือด (bloodflow) วิลเลียม ฮาวี นายแพทย์ชาวอังกฤษได้สรุปไว้ว่า "เลือดจะถูกดันออกจากหัวใจไปทั่วร่างกาย แล้วก็จะไหลกลับเข้าหัวใจอีก" การไหลของเลือดจะเป็นไปในทางเดียวกันหมด ไม่มีการย้อนทิศทางกันเลย แรงดันที่ทำให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดได้นั้นเริ่มต้นมาจากหัวใจ ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องสูบ และจะต้องมีกำลังแรงพอที่จะดันเลือดให้ไหลไปตามเส้นเลือดได้ติดต่อกันเป็นระยะๆ เรื่อยไป โดยเลือดไหลผ่านหัวใจประมาณนาทีละ 5 ลิตร
การไหลของเลือดมี 2 วงจรคือ
- pulmonary circulation เป็นวงจรที่เลือดเสียจากหัวใจห้องล่างขวาเดินทางไปยังปอดด้านซ้ายและปอดด้านขวาไปฟอก หรือเพื่อรับออกซิเจนและคายคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเดินทางจากปอดกลับมาที่หัวใจห้องบนด้านซ้าย หรือเขียนเป็นผังได้ดังนี้
right ventricle --> lung (right and left) --> left auricle
- systemic circulation เป็นวงจรของเลือดดีจากหัวใจห้องด้านล่างซ้ายไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกลายเป็นเลือดเสียเดินทางกลับสู่หัวใจทางห้องบนด้านขวา
3. การวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า sphygmomanometer หรือมาตรวัดความดันเลือด ค่าความดันเลือด มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรของปรอท
ความดันเลือดปกติของคนที่โตเต็มที่มีค่าประมาณ 120/80 มิลลิเมตรของปรอท

ระบบหมุนเวียนเลือดของคน


1 ความคิดเห็น:

  1. นำเสนอได้ดีมากๆครับ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจชัดเจนดีครับ ผมไม่ชอบเรื่องนี้ ผมมีสอบพรุ่งนี้ผมมาอ่านแปปเดียวก็เข้าใจเลยครับ ขอบคุณมากๆครับ

    ตอบลบ